ATK คือ คำตอบสุดท้ายไหม เราควรเชื่อการตรวจแบบคัดกรองมากน้อยแค่ใหน ข้อจำกัดของ ATK นั่นมีแน่นอน เพราะเป็นเทคนิคการตรวจเพื่อคัดกรอง ความไว ความจำเพาะหลากหลายแตกต่างกันไปตามยี่ห้อต่างๆ ด้วย เป็นการตรวจที่เราต้องเผื่อใจถึงความผิดพลาดเอาไว้
ผลการตรวจให้ผลสองขีด หรือบวกเป็นการแปลผลได้ว่า เราตรวจพบเชื้อ แต่ก็ต่อเมื่อมีปริมาณไวรัสสูงมากเพียงพอเท่านั้น ดังนั้นถ้าหากว่าเราพบ ‘ผลบวก’ จะค่อนข้างมั่นใจว่าติดเชื้อโควิดจริง แต่ถ้าพบ ‘ผลลบ’ นั้นเรายังจะบอกหรือสรุปไม่ได้ว่า ไม่ติดเชื้อ เพราะอาจติดเชื้ออยู่แต่ปริมาณไวรัสยังน้อยจนตรวจไม่พบ เรียกว่า ‘ผลลบลวง’ ซึ่งในทางห้องปฏิบัติการ ผลบวกลวง ดีกว่า ลบลวง เพราะลบลวงจะก่อความเสียหายต่อชุมชนต่อไปอีกมากมายเพราะคิดว่าปลอดเชื้อเเน่ๆ
บอกเล่าประสบการณ์ตรงหมอทำอย่างไรเมื่อผลตรวจ ATK ให้ผลลบทุกครั้งไม่สอดคล้องกับอาการทางคลินิกและเริ่มมีไข้ในวันที่ 6-7 หลังการสัมผัสผู้ติดเชื้อ
ในประเทศไทยเองมักมีการนำเสนอข่าว แบบนี้บ่อยๆ เช่น จาก https://thestandard.co/atk-credibility/ ที่รายงาน ว่า “…นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชสั่งห้ามโรงพยาบาลในจังหวัดใช้ชุดตรวจ ATK ยี่ห้อหนึ่งตรวจหาเชื้อในผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง เนื่องจากพบความเบี่ยงเบนสูง ทำให้ประชาชนเกิดความไม่เชื่อมั่นต่อชุดตรวจที่ภาครัฐจัดซื้อมาแจกให้ ซึ่งเป็นยี่ห้อเดียวกัน ขณะเดียวกันตามร้านขายยาหรือร้านทั่วไปก็มีชุดตรวจ ATK วางขายมากขึ้น ชุดตรวจเหล่านี้ให้ผลถูกต้องมากน้อยแค่ไหน บทความนี้จะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลการตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจ ATK ให้มากขึ้น…”
ตัวหมอทำงานในโรงพยาบาลของรัฐเช่นกัน ใกล้ชิดในวงการห้องปฏิบัติการเพราะหมอจบหมอแล๊บมาตอน ปริญญาตรี และเรียนต่อทางแพทย์แผนไทยและแผนปัจจุบันมาพอสมควร
หมอได้รับชุดตรวจตามระบบราชการมาเหมือนกัน เพื่อตรวจเมื่อครั้งมีความเสี่ยงสูงเพราะเคสต้นนั้นรับเชื้อมาจากสามีที่บ้านและไม่มีอาการหรืออาการมีน้อยมากๆ ระยะเวลาที่ฟักตัวของเชื้อในแต่ละคนต่างๆกันไป ปัจจุบันคือ 7-14 วันแต่มีรายงานต่างประเทศบางรายฟักตัวยาวถึง 31 วันยังพบได้บ้าง
พี่ต้นเคสของหมอ ขอเรียกว่า เคส B ส่วนสามีหมอขอเรียกว่า เคส A นะ
คุณ A มีอาการเหมือนไข้หวัดธรรมดา หวัดลงคอไปรับการตรวจเพราะคิดว่าเป็นหวัดที่ รพสต. แห่งหนึ่งใกล้บ้านในวันจันทร์ และถูกตรวจ ATK ให้ผลบวก นั่นแปลผลได้ว่ามีปริมาณเชื้อมากพอจนให้ผลบวก คุณเคส B มาทำงานทุกวันตั้งแต่วันพฤหัสบดี และทราบผลว่าสามีให้ผลบวกโควิดวันจันทร์ หมอสัมผัสกับพี่เคส B เมื่อวันพฤหัสบดีก่อนหน้า ซึ่งทำงานใกล้ชิดพอสมควร ผู้อ่านคิดว่าหมอเสี่ยงสูงต่ำหรือสูง ถูกค่ะ คำตอบคือ สูงแน่นอน เพราะแม้เราจะสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาไม่ได้หมายความว่าเราจะปลอดภัย 100 % และหมอไม่แน่ใจด้วยว่าสวมตลอดเวลาเพราะทำงานใกล้ชิดกัน ในห้องเดียวกันเกิน 5 นาทีแน่นอน
การแปลผลการตรวจจาก ATK อย่างไร
ATK หรือ Antigen Test Kit เป็นการตรวจแบบคัดกรองหาเชื้อไวรัสที่ทำได้รวดเร็ว ทราบผลภายใน 20-30 นาที ต่างจากการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR (Standard procedure) ที่ต้องส่งตัวอย่างไปตรวจในห้องปฏิบัติการจึงใช้เวลานานกว่าจะทราบผลแปลผลจากการนำเชื้อปริมาณแม้จะน้อยมาขยายสัญญาณในกระบวนการขยาย การตรวจ RT-PCR นั้น มีชื่อเต็มๆ คือ Real Time PCR, (PCR=Polymerase chain reaction) เป็นการเก็บตัวอย่างเชื้อบริเวณลำคอและหลังโพรงจมูก (เช่นเดียวกันกับตรวจ Antigen) เป็นการตรวจที่มีความถูกต้องแม่นยำมากกว่าแต่จะใช้เวลาในการวินิจฉัยตัวอย่างเชื้อนานกว่า และเป็นการตรวจที่แนะนำจากองค์กรมาตรฐานอย่าง WHO
วิธีการเก็บตัวอย่างของชุดตรวจ ATK สะดวกกว่า ในขณะที่วิธี RT-PCR มักจะต้องแยงไม้เข้าไปลึกถึงด้านหลังโพรงจมูกเพราะบริเวณด้านหลังโพรงจมูกมีโอกาสพบเชื้อได้มาก และการตรวจในห้องแล็บทำให้ตรวจพบเชื้อได้ถึงแม้เชื้อจะมีปริมาณน้อยมากๆ วิธี RT-PCR จึงเป็นวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัยโควิด-19 ผู้ที่พบ “ผลบวก” จากชุดตรวจ ATK แปลผลว่า “พบเชื้อ“
กลับมาที่ผลตรวจของหมอที่ให้ผล Day 0 เป็นลบ หลังจากพี่เคส B ทราบว่าสามีให้ผลบวก จึงได้ตรวจด้วย ATK และใช่ค่ะ พี่ต้นเคส B ให้ผลบวกต่อโควิดสายพันธุ์เดลต้า ดังนั้นกลุ่มเสี่ยงสูงทุกคนตามมาตรการของ กระทรวงสาธารณสุข คือ กักตัว 14 วัน เเบบ HI (Home isolation) พี่เคส B เข้ารับการรักษาตามระบบ ผลการตรวจ RT-PCR ของพี่เค้าให้ผลบวกคือพบเชื้อแต่หมอไม่ทราบรายละเอียดของ CT ว่าเท่าไหร่ หมอเร่ิมกระบวนการกักตัวเอง
หมอตรวจ ATK สามรอบยังให้ผลลบ แต่พอวันที่ 6 นับจากสัมผัส หมอเริ่มขึ้นผื่นที่แขน ซึ่งหมอคิดว่าเพราะแพ้อะไรสักอย่างไหม แต่ลักษณ์ผื่นนั้นเป็นตุ่มที่มีลักษณะที่เข้ากับคัมภีร์ตักศิลา ผื่นยกนูนคันใสแบบเริมในทางการแพทย์แผนไทยเรียกว่า ไข้ออกผื่น ไข้พิษไข้กาฬ 21 จำพวก ตามคัมภีร์ โควิดจัดในโรคห่าและบรรจุในไข้พิษไข้กาฬ เช่นกัน ตามรายงานจาก Page 129 – สาระการประชุมวิชาการประจำปี https://www.dtam.moph.go.th/E-Book/academic-meeting-172563/files/basic-html/page129.html ที่กล่าวว่า .
"...ไข้พิษไข้กาฬเป็นพิษกำเดาโลหิตแต่จะระบายพิษออกทางผิวหนัง มักจะขึ้นผื่นและมีการระบายพิษ
ออกมาเป็นผื่นที่ผิวหนัง แต่ถามว่าไข้พิษไข้กาฬต้องออกมาเป็นผื่นทุกคนไหม ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นทุกคน ถ้าเกิด
ว่าพิษกำเดานั้นไม่ได้มากจนกระทั่งร่างกายทำลายไม่ได้จนต้องขับออกทางผิวหนัง COVID-19 คล้ายกับไข้พิษไข้กาฬในเรื่องของปิตตะกำเริบ ทำให้พิษโลหิตกำเดาต้องขับออกทางผิวหนัง ผู้ป่วย COVID-19 บางราย มีอาการผื่นที่ผิวหนัง แสดงให้รู้ว่าธรรมชาติของร่างกายในการขับพิษของไวรัส
มีหลายชนิดที่ขับออกทางผิวหนัง แต่เวลารักษาทางการแพทย์แผนไทยจะรักษาอย่างไรต้องพิจารณาจากสมุฏฐาน..."
วันแรกที่ขึ้นผื่นหมอยังไม่มีไข้ เริ่มมีไข้บ่ายของวันรุ่งขึ้นคือวัน พกักตัวแล้ว มีอาการไข้กำเดาปวดตามาก มีความร้อนขึ้นสูง ผล atk ยังคงลบ ดังนั้นหมอควรเชื่อผล ATK หรืออาการทางคลินิก ใช่ค่ะ หมอเชื่ออาการที่แสดงเพราะหากหมอติดเชื้อแต่ไม่ทานยาจะทันการณ์ไหมหมอจะส่งต่อเชื้อให้คนอื่นต่อไหม
หมอจึงเริ่มยาโดสแรกในวันที่ 7 หรือวันแรกที่มีไข้กำเดาหลังสัมผัสเชื้อและเริ่มมีอาการไข้มีปวดหัวแบบไข้กำเดาปวดร้อนกระบอกตาคล้ายๆไมเกรน
ตำรับยาที่หมอใช้มีอะไรบ้าง
ครูบาอาจารย์ได้กล่าวไว้ คือ ไข้ตักศิลาจะต้องกระทุ้งพิษออกมาให้สิ้น ไม่เช่นนั้นจะกลับลงไปกินตับปอดได้ การใช้ยาในการรักในพระคัมภีร์ตักศิลา จำนวน 4 ตำรับ ในคัมภีร์เวชศาสตร์ศึกษา และเเพทยศาสตร์สงเคราะห์ จำนวน 3 ตำรับ (https://www.dtam.moph.go.th/E-Book/academic-meeting-172563/files/basic-html/page129.html) นอกจากนี้มีตำรับยาที่เพิ่มขึ้นมาคือยาแปรไข้ ยาพ่นผิวภายนอกและยาครอบไข้ตักศิลา
ยากระทุ้งพิษที่แพทย์แผนไทยใช้ หรือยาห้าราก ยาแก้วห้าดวงนี้ ปัจจุบันเราไม่ได้ใช้ตามคัมภีร์ทำให้สรรพคุณทางยาออกมาไม่เต็มที่เนื่องจากมีการใช้รูปแบบแคปซูลให้สะดวกต่อยุคสมัย ในขณะที่คัมภีร์ระบุวิธีการใช้เป็นยาต้ม ตำรับยาที่ใช้ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 พบว่ายาจันทน์ลีลาใช้แก้ไข้พิษ แต่หมอไม่ได้ใช้ยาจันทลีลา การรักษาไข้พิษไข้กาฬ มีวิธีการรักษา 3 ขั้นตอนหลักๆ คือ 1.การกระทุ้งพิษ 2.การแปรพิษ และสุดท้ายคือการครอบไข้
ตำรับยาที่หมอใช้ในการรักษาตัวเองครั้งนี้ในขั้นตอนแรกคือ ตำรับยาห้ารากที่ผสมสมุนไพรแปรไข้ครอบไข้ซึ่งครูบาอาจารย์แพทย์แผนไทยทางภาคเหนือใช้ในการรักษาจึงไม่จำเป็นต้องทานจันทลีลา หมอวางมหาพิกัดตรีผลาเพื่อกล่อมในเรื่องของลำใส้และประเมหะในลำใส้ และ วางฟ้าทะลายโจรเพื่อแก้ร้อนในกระหายน้ำลดไข้เพิ่มด้วยฟ้าทะลายโจรมีฤทธื์เย็นลดไข้กำเดาได้ดีแต่ไม่ควรทานเกินห้าวัน
หมอมีอาการไข้กำเดาสองวันแรกแบบปวดหัวมากปวดกระบอกตา ไข้ลดในวันที่ 3 หลังมีอาการไข้ มีอาการเจ็บคอมากช่วงแรกๆถึงวันที่่ 8
วันที่ 6 วางยาบำรุงโลหิตและมหาพิกัดตรีผลายาหอมเย็นเพื่อลดอาการ long covid งดตำรับยาห้ารากและฟ้าทะลายโจรตั้งแต่วันที่ 6 เป็นต้นไป อาการผื่นของหมอมีเรื่อยๆ ขึ้นๆ ยุบๆ เป็นผื่นนูนใสคันและหายสนิทจริงๆ คืออาทิตย์ที่สองหลังการสัมผัสเชื้อ
ซึ่งอาการทางคลินิกหมอนั้นไม่สัมพันธ์กับ ATK เลย หมอจำเป็นต้องรอจนผลบวกไหม ในฐานะคนคนหนึ่งที่ต้องกักตัว 14 วัน หมอไม่รอค่ะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่หมอแชร์ คือประสบการณ์ตรงจากตนเองเป็นความเห็นส่วนตัวอาจจะไม่ใช่ตัวแทนของประชากรไม่ใช่งานวิจัยใดๆ แล้วคุณละจะเชื่อผล ATK ที่ให้ผลลบได้ 100% ไหม เพราะการตรวจคัดกรองย่อมมีจุดอ่อนของการทดสอบเช่นกัน