วัคซีน COVID-19 (SARS-CoV2) โรคอุบัติใหม่ที่เราต้องอยู่ร่วม

       โควิด-19 เริ่มระบาดมาตั้งแต่ปลายปี 2019 จนถึง 20 กรกฎาคม 2021 นี่คือรายงานวิเคราะห์ที่หมอพยายามเขียนรวบรวมเมื่อปีที่แล้วที่พบว่ามียอดสะสมทะลุ 200 ล้าน  เป็นกลุ่มเชื้อไวรัสที่สามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด เชื้อพัฒนาตัวเองเร็วยิ่งกว่าวัคซีนที่นักวิทยาศาสตร์พัฒนาขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นวัคซีนแบบใหนๆ ก็ตาม รายงานจาก https://www.worldometers.info/coronavirus ปัจจุบันปี 2022 พวกเรากลับพบว่าตัวเลขยอดสะสมการติดเชื้อนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมีอะไรเกิดขึ้นมากมายต่อเราชาวมนุษยชาติ

รายงานจำนวนการติดเชื้อ Coronavirus  ตามบทความที่หมอเคยร่างเขียนขึ้นในเดือนสิงหาคม 2564 นับถึงปัจจุบันคือระยะห่างเพียง 5 เดือนถือว่าไวรัสโควิดมีจำนวนเพิ่มแบบการก้าวกระโดดมาก ปัจจุบันเชื้อได้พัฒนามาถึงสายพันธุ์โอมิครอนและมีสายพันธุ์ย่อยไปแล้ว สถิติจำนวนยอดผู้ติดเชื้อและสายพันธุ์ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จำนวนรายงานถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้ติดเชื้อมีจำนวนเพิ่มจากสอง 200 ล้านราย ก้าวมาที่ 379,039,044 ราย และเสียชีวิต 5,692,405 ราย ผ่านมาเพียงไม่กี่เดือน เราติดตามไวรัสกลายพันธุ์ตัวนี้ไม่ทันเอาเสียเลย

เฉกเช่นเดียวกับวัคซีนที่เริ่มต้นยังถกเถียงว่าดีหรือไม่ดีระหว่างชนิดต่างๆ แต่นับถึงวันนี้เราเหล่ามวลมนุษยชาติไม่มีทางเลือกอีกต่อไป ทุกคนต้องได้รับการฉีดถึงเข็มกระตุ้นไปเรียบร้อยหมอเองรับวัคซีนเข็มกระตุ้นถึงรอบที่สอง วัคซีนที่หมอเลือกฉีด คือ SinoVac และ Astrazeneca ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนตัวที่เลือกจะรับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (Az) แทนแบบ mRNA เพราะหมอเลี่ยงการเกิด Systemic inflammatory หรือภาวะที่มีการอักเสบทั่วตัวแบบไม่เจาะจง มีรายงานกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในเด็กวัยรุ่นบ้าง รายการการเสียชีวิตเป็นระยะจากผลกระทบของวัคซีนบ้าง แต่เมื่อเทียบเคียงรับการฉีดกับไม่ฉีดแล้วการสูญเสียจากการไม่ฉีดมีมากกว่า รัฐบาลจึงมีมาตรการขอร้องให้มีการรับวัคซีนให้ได้ 100% ในประชากร

Viruses: SARS-CoV-2
ที่มารูป www.eurofins-technologies.com/products/viruses.html

ข้อสังเกตอาการทางคลินิก จากโควิด-19 เดิมที่มีอาการ คือ ไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ปวดหัวเป็นไข้ จมูกรับกลิ่นไม่ได้ การรับรสเสีย อาการแบบใหม่ที่ต่างจากเดิม คือ ตาแดง ผื่นขึ้นไม่มีอาการชัดเจน อาจจะอ่อนเพลียเพียงเล็กน้อย คลื่นใส้อาเจียนมีน้ำมูกเวียนศรีษะ ครั่นเนื้อครั่นตัวไข้ต่ำๆ เป็นต้น ส่วนโอมิครอนอาการแสดงน้อยมาก แต่การแพร่กระจายไว

รายงานในไทยนั้น ความรุนแรงของโรคหลังการติด คือ ร้อยละ 80-85 จะมีอาการไม่หนักหรืออยู่ในสีเขียว มีอาการปานกลางประมาณร้อยละ 12-15 และอีกร้อยละ 5 จะมีอาการหนัก อาการจะเแสดงออกได้ภายใน 4-14 วัน เฉลี่ยที่ 5 วันจะแสดงอาการออกมา และในปี 2564 นี้มีรายงานการติดต่อที่รวดเร็วมาก และอาจจะสามารถติดต่อได้ง่ายขึ้น เพียงเดินผ่านกันใน 5-6 นาที ก็สามารถติดเชื้อกันได้ 5-6

สำหรับยอดฉีดวัคซีนทั่วโลกที่มีการฉีดแล้ว และได้รับการยืนยันจากองค์การอนามัยโลก ประมาณ 3,114,766, 865 โดส  ณ กรกฎาคม 2021  แม้จะมียอดฉีดไปแล้ว 3 พันล้านโดส แต่ก็ยังไม่มีท่าทีที่จะหยุดการระบาดของไวรัสนี้ได้ ประเทศไทยยอดการติดเชื้อรายงานล่าสุดวันที่ 29 ก.ค 2564  คือ  ทุบสถิติใหม่อีกครั้ง คือ 17,669 ราย เสียชีวิตพุ่ง 165 ราย และก้่าวสู่ 1 ล้านคนในไม่กี่วันนี้แน่นอน (19 สิงหาคม 2564)   ส่วนข้อมูลถึงปัจจุบัน 1 ก.พ  2565  ยอดผู้ป่วยในไทยสะสม 2.44 ล้านคน เสียชีวิตสะสม 8,715 ราย หายป่วยสะสมกลับบ้าน ประมาณ 2.34 ล้านคน รับวัคซีนสะสม 115,256,516 คน

              ส่วนยอดรับวัคซีนทั่วโลก คือ 10.1 พันล้านโดส ใน 184 ประเทศ, ตามข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยบลูมเบิร์ก. อัตราล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 32.7 ล้านโดสต่อวัน  (ประเทศฉีดวัคซีนต้านโควิด COVID-19 29 มกราคม 2565 (trueid.net ) More Than 10.1 Billion Shots Given: Covid-19 Vaccine Tracker (bloomberg.com)

วัคซีน ณ ปัจจุบัน มีบริษัทฯ ที่ผลิตออกมาที่เป็นที่รู้จักกันไม่กี่แบบและยังไม่มีวัคซีนยี่ห้อไหนที่ดีที่สุด ทุกยี่ห้อล้วนมีผลข้างเคียงหลังการฉีดมากน้อย ขึ้นอยู่กับผู้ได้รับวัคซีนตอบสนองอย่างไร นี่คือความเห็นหมอที่ผ่านมา 5 เดือน แต่ถึงปัจจุบันส่วนใหญ่ประชากรได้รับการฉีด mRNA กันอย่างทั่ว 

เช่น กราฟนี้  ที่แสดงให้เห็นถึง การกระจายการฉีดวัคซีนในประชากรโลก  แต่ว่ายังมีคำถามว่าเราจะมีชีวิตแบบเดิมเมื่อไหร่  จากสถานการณ์และความเห็นส่วนตัวของหมอเองหมอคิดว่า ไม่มีทีท่าการหยุดของการระบาด และเราใช้ชีวิตแบบเดิมไม่ได้อีกแล้ว พวกเราต้องใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่นับแต่นี้ไป  ถึงปัจจุบัน คือ พวกเราเข้าขวบปีที่ 3 ของการใช้ชีวิตแบบโรคระบาด

การจำแนกชนิดของวัคซีนสามารถจำแนกได้ 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ แบบเชื้อตาย เชื้อทำหมัน แบบจำเพาะต่อโปรตีนหนามละแบบ mRNA เป็นต้น

วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine) ผลิตด้วยการนําเชื้อไวรัสโควิด-19 เพาะเลี้ยง แล้วขยายจํานวนมากในห้องทดลองที่ป้องกันระดับสูงสุดตามมาตรฐาน ขั้นต่อมาคือนํามาทำให้เชื้อตาย  ผลิตเป็นวัคซีนออกมา โดยการฉีดวัคซีนชนิดนี้จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสได้ทุกส่วน คล้ายกับการได้รับเชื้อไวรัสโดยตรง

แต่ไม่ทำให้เกิดโรคเพราะเชื้อตายแล้วนั้นเอง เป็นเทคโนโลยีที่ปลอดภัยสูง เพราะเป็น Conventional Techniques เป็นวิธีที่ใช้กับวัคซีน ที่พวกเราเคยได้รับมากัน เช่น วัคซีนตับอักเสบ โปลิโอชนิด หรือแบบอื่นๆ ในโบราณ ที่เรามีความคุ้นเคยในประสิทธิภาพ และความปลอดภัยมานานแล้ว แต่เนื่องจากการเพาะเลี้ยงไวรัสต้องใช้ความระมัดระวังมาก ทําให้ผลิตได้ช้ามีราคาแพง ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกให้ใช้แบบฉุกเฉินได้
  1. วัคซีนที่ทําจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein Subunit Vaccines) โดยเทคโนโลยีนี้ มีความคุ้นเคยมานาน ใช้ในการผลิตวัคซีนหลายชนิด เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น  
  2. วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (ไวรัลเวคเตอร์) (Recombinant viral vector vaccine) ใช้ไวรัสที่สามารถตัดแต่งพันธุกรรม เช่น ไวรัสอะดีโน (Adenovirus) นำมาดัดแปลงพันธุกรรมให้ไม่สามารถแบ่งตัวได้ และใส่สารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 ลงไป เมื่อนํามาฉีดไวรัสพาหะเหล่านี้จะเลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติ กระตุ้มภูมิคุ้มกันทั้งระบบให้สร้างแอนติบอดีย์ต่อไวรัสโควิด-19 ตามสารพันธุกรรมที่ใส่เข้าไป แม้ว่าจะเป็นวัคซีนที่ไวรัสอะดีโนไม่แบ่งตัวแต่ยังจัดเป็นไวรัสที่มีชีวิตเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ไม่เหมาะที่จะใช้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง วัคซีนชนิดนี้ที่ใช้ ในชนิดนี้ มี 4 กลุ่มย่อย คือ
    1. ไวรัสอะดีโนของชิมแพนซี (Chimpanzee Adenovirus) จากลิง โดยบริษัท Astra Zeneca มีประสิทธิภาพป้องกันอาการร้อยละ 70-80 ป้องกันการเสียชีวิตได้ร้อยละ 100
    2. ไวรัสอะดีโนของมนุษย์สายพันธุ์ 5 (Human Adenovirus Type 5) โดยบริษัท CanSinoBio มีประสิทธิภาพป้องกันอาการร้อยละ 60
    3. ไวรัสอะดีโนของมนุษย์สายพันธุ์ 26 (Human Adenovirus Type 26) โดยบริษัท Johnson and Johnson มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณร้อยละ 64-72 และสุดท้ายไวรัสอะดีโนของมนุษย์สายพันธุ์ 5 และ 26 (Human adenovirus type 5 and26) จาก บริษัท Gamaleya ของรัสเซีย ป้องกันอาการได้ร้อยละประมาณ 90 …” 3
  3. แบบการตัดแต่ง mRNA วัคซีนกลุ่มนี้ได้ใช้เทคโนโลยีแบบใหม่สังเคราะห์สารพันธุกรรมเอ็มอาร์เอ็นเอ (messenger RNA: mRNA) ที่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อไวรัส เข้าเซลล์ และกํากับให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ของเชื้อไวรัส ซึ่งโปรตีนนี้จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านเชื้อ (แต่ยังไม่ทราบผลระยะยาวเพราะเป็นเทคโนโลยีครั้งแรกของโลก) จากข้อมูลในปัจจุบันวัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ดี แต่ปัจจุบันกำลังลดความสามารถต่อสายพันธุ์เดลต้าที่รายงานออกมาจากประเทศอิสราเอล (Less Effective Against Delta Infection)2 และเริ่มมีรายงานติดตามผลหลังฉีดวัคซีน ว่ามีผลต่อการทำงานกล้ามเนื้อหัวใจ

 

นักวิทยาศาสตร์จากหลายๆ ประเทศยังคงพัฒนาวัคซีนทั้งแบบไวรัลเวคเตอร์และ mRNA  อย่างไม่หยุดรวมทั้งวัคซีนแบบทานด้วย

ผลหลังการฉีดวัคซีนต่างๆ มีผลข้างเคียงมากน้อยคล้ายๆ กัน

หากจะมองหาการฉีดวัคซีนตอนนี้ควรจะมองหาวัคซีนที่ป้องกันสายพันธุ์ Delta (เดลต้า) หรือสายพันธุ์อื่นๆ ที่ปัจจุบันแพร่ระบาดอยู่หรือบางประเทศกำลังศึกษาการฉีดไขว้เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานในเชิง humoral immune และ cell mediated immunology เพื่อครอบคลุมทั้งสองระบบ

เราทราบกันดีว่าไวรัสที่ระบาด ณ ตอนนี้ในประเทศไทย หรือหลายๆ ประเทศในปี พ.ศ 2564 ไม่ใช่สายพันธุ์อู่ฮั่นอีกต่อไปแล้ว เพราะไวรัสได้กลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ต่างๆ ที่เพิ่มความรุณแรงขึ้นอย่างมาก โดยที่องค์การอนามัยโลกได้เปลี่ยนแปลงระบบสำหรับการเรียกชื่อสายพันธุ์เชื้อ COVID-19 ให้ใช้ตัวอักษรกรีก แทนการเรียกชื่อประเทศที่พบสายพันธุ์นั้นๆ เมื่อ 1 มิถุนายน 2564 ระบบการเรียกแบบใหม่นี้ทำให้เชื้อ COVID-19 กลายพันธุ์ที่พบในอังกฤษถูกเรียกว่า อัลฟา  ขณะที่สายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ใช้ชื่อว่า เบตา สายพันธุ์อินเดียจะถูกเปลี่ยนเป็น เดลตา ระบบนี้จะใช้กับสายพันธุ์ของ COVID-19 ที่องค์การอนามัยโลกระบุให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล สายพันธุ์ที่กำลังมาแรงล่าสุดช่วงเดือน กรกฏาคม คือ สายพันธุ์แกมม่า  และแกมม่าพลัส

ในทั้ง 4 สายพันธุ์นี้มีความรุนแรง และดื้อต่อวัคซีนอย่างรวดเร็ว มีความสามารถในการแพร่ระบาดที่สูงกว่าแบบเดิมตามรายงานจะเห็นว่ามีการติดเชื้อซ้ำในบุคลากรการแพทย์ที่แม้จะฉีดวัคซีนครบทั้งสองเข็มไม่ว่าจะสายทางเชื้อตายหรือสายการตัดแต่งก็ตาม

ปัจจุบันประเทศไทยมีการระบาดทั้ง 2 สายพันธุ์ คือ

ระลอกที่ 1-2 : สายพันธุ์จากประเทศจีน ซึ่งเป็นกลุ่มแรกๆ และวัคซีนกลุ่มนี้จะไม่สามารถป้องกันการติดของสายพันธ์จากยุโรปหรืออินเดียได้

ระลอกที่ 3 เมษายน 2564 : สายพันธุ์อัลฟ่า ระบาดง่ายกว่าสายพันธุ์ระยะแรกถึงร้อยละ 70

ระลอกที่ 4 มิถุนายน 64 : สายพันธุ์เดลต้า ระบาดง่ายกว่าสายพันธุ์แรกถึงร้อยละ 140

ณ ปัจจุบัน โอมิครอนกำลังระบาดอย่างรวดเร็วในประเทศไทยและครอบคลุมเกือบทุกที่

อนามัยโลกใช้ "ภาษากรีก" เรียกชื่อโควิดกลายพันธุ์ ยกเลิกเรียกชื่อประเทศ
ที่มา https://news.thaipbs.or.th/media/G0DL5oPyrtt5HBAivZHIRNjfMlIeAXGMw78I4dnOY2SIsPcFw5vtQc.jpg

คาดว่าสายพันธุ์เดลต้าจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดต่อไปในประเทศไทยหรือจุดที่ระบาดแน่นอน หากเราจะฉีดวัคซีน ตอนนี้ควรจะมองหาวัคซีนที่ป้องกันสายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยที่ รัฐบาลกำหนดให้บุคลากรฉีดวัคซีนข้ามสายพันธุ์ต่อ Delta type

ภาพรวมสำหรับคนที่ฉีดกลุ่ม Sinovac 2 โดสไปแล้ว ป้องกันสายพันธุ์ที่ระบาดแรกๆ ได้ดี แต่ป้องกันสายพันธุ์อัลฟ่าได้ต่ำลง และที่หนัก คือ ป้องกันสายพันธุ์เดลต้าไม่ได้ค่อนข้างชัดเจน จึงต้องมีการบูสต์ภูมิคุ้มกัน หรือการฉีดไขว้ Cross เข็มที่ 3 ด้วยเทคโนโลยีวัคซีนที่ต่างกัน คือ แบบไวรัสพาหะ หรือเทคโนโลยี mRNA ส่วนที่ฉีด Astra 2 เข็ม ป้องกันการติดสายเดลต้าได้ร้อยละ 64 และป้องกันเสียชีวิตได้ร้อยละ 92 แต่ถ้าให้ดี ควรมีการ Cross ด้วย mRNA อีก ตามทฤษฎีน่าจะให้ประสิทธิภาพป้องกันดีขึ้นเช่นกัน

 

ทำไมวัคซีนจึงสำคัญมาก

ความสำคัญที่ต้องฉีดวัคซีน เพราะเป็นโรคอุบัติใหม่ภูมิต้านทานของร่างกายมนุษย์ยังไม่รู้จัก ไม่รู้ทิศทางกลไกการป้องกันตัวเองได้อย่างไร ดังนั้นการฉีดวัคซีนจึงสำคัญมากในการจำลองเหตุการณ์การติดเชื้อขึ้นมาในร่างกายของมนุษย์ จากหลอดทดลอง และการศึกษาพัฒนาวัคซีนสู่ร่างกายมนุษย์ (change form in vitro space to in vivo space, ) กลไกของวัคซีนแต่ละชนิดในปัจจุบัน ทำงานต่างกัน จำเพาะต่อไวรัสเหมือนกัน หากต้องติดในอนาคตจะไม่มีอาการรุนแรง

แม้ว่าจะมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่ วัคซีนจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อสู้กับ COVID-19 และมีประโยชน์ด้านสาธารณสุข และการช่วยชีวิต หรือลดความรุนแรงลงได้ เพราะร่างกายมีระบบการต่อสู้ขึ้่นมาหลังจากการฉีดวัคซีน ที่ชัดเจนจากการใช้เครื่องมือที่เรามีอยู่แล้ว ความขาดเเคลนเครื่องมือช่วยการหายใจ การฉีดวัคซีนจะไม่ลดการติดเชื้อลงแต่จะเราต้องไม่เลื่อนการรับการฉีดวัคซีนเนื่องจากความกังวลของเราเกี่ยวกับสายพันธุ์ใหม่ และเราต้องดำเนินการฉีดวัคซีนต่อไปแม้ว่าวัคซีนอาจมีประสิทธิภาพน้อยกว่าในการต่อต้านไวรัส COVID-19 บางสายพันธุ์ก็ตาม เราจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่เรามีอยู่แม้ว่าเราจะปรับปรุงเครื่องมือเหล่านั้นต่อไป เราทุกคนจะปลอดภัยก็ต่อเมื่อทุกคนปลอดภัยเหมือนๆกัน ดังนั้นมีฉีดวัคซีนกัน

วัคซีนไม่ได้ป้องกัน หรือลดการติดเชื้อลง แต่จะลดอาการความรุนแรงของอาการต่างๆ ลงเพราะมีการจำลองร่างกายในการติดเชื้อโรค และให้ร่างกายได้กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิที่ปกป้องร่างกาย

What is the best vaccines in the world at the moment?

วัคซีนที่ดีที่สุด คือ การป้องกันตัวเอง ทำร่างกายให้แข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทานร่างกายให้ดีที่สุด รับวิตามินดีจากแสงดแดด กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และทิ้งระยะห่างจากชุมชนให้มากที่สุดที่จะเป็นไปได้

การรักษาดูแลโรคนี้ด้วยวิธีการของแพทย์แผนไทยกับโควิด 19

โรคห่าลงเมือง โรคห่าลงปอด โรคห่าตำปอด หรือชื่อ อื่นๆ อีกมาก คือ ชื่อที่วงการแพทย์แผนไทยรู้จักดี เพราะในโบราณเมื่อปี 2461 ที่มีการระบาดมาเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมามีคนไทยเสียชีวิตและติดเชื้อกว่า 2 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 8 หมื่นคน (รายงานสาธารณสุข, 2461)

ตามรายงานสถานการณ์ปัจจุบัน ในประเทศไทยนั้น มีจำนวนยอดรายวันเกือบแตะที่ 10,000 ต่อวัน ยอดรวมประมาณ 250,000 คน สิ่งที่เราจะช่วยได้ คือ การใช้กลุ่มตำรับสมุนไพรในตำรับคัมภีร์โบราณอาจจะเป็นหนทางที่มาช่วยเหลือได้ เพราะว่าเตียงและอุปกรณ์ต่างๆนั้นรองรับไม่ได้ มีคนรอเตียง หรือรอการเข้าสู่ระบบที่บ้าน เรารอจากระบบสาธารณสุขจะยังไม่เพียงพอ ตอนนี้จำเป็นที่ต้องพึ่งพาแพทย์ทางเลือกหรือ กลุ่มแพทย์แผนไทย มีการระบาดที่เรียกว่า โรคห่าลงเมือง ประชาชนยังคงต้องปรับตัวเองปกติ อยู่กับโรคนี้อย่างไร มีชีวิตให้ปกติอย่างไร ประเทศไทยโชคดีที่มีภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านที่มีมาช้านานเราควรนำกระแสการดูแลตัวเองนี้มา หรือ หันมามองตำรับยาแพทย์แผนไทยตามคัมภีร์โบราณได้บ้างแล้ว

จากรายงานการเสวนาล่าสุดของกรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 17 มิถุนายน 2564 นั้น มีรายงานแนะนำให้ใช้ กระชายขาวและฟ้าทะลายโจรในเรือนจำในคนที่ติดเชื้อ และการศึกษาในภาคกลางที่พบว่า ผลของสมุนไพรไทยทั้งสองตัวช่วยเหลือได้ดี ได้ผลน่าทึ่งมาก หรือแม่กระทั่งรายงานวิจัยจาก การศึกษาฟ้าทะลายโจรให้พร้อมกับฟาวิพิราเวียเพื่อเปรียบเทียบ ผลการรักษา จากการรายงานนั้นพบว่าทั้งฟ้าทะลายโจรและกระชายให้ผลการรักษาที่น่าทึ่งมากๆ จากงานเสวนาวิชาการ “ฟ้า-ทะลาย-โจรในภาวะวิกฤต” ในงานเสวนา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงสยมพร ศิรินาวิน กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ และผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาคลินิกได้นำเสนองานวิจัยทางคลินิกได้นำเสนอ งานวิจัยสองเรื่อง เป็นการศึกษาการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19

 

การดูแลตัวเองที่บ้านหากอาการไม่มาก ระยะเริ่มต้นและติดเชื้อที่ปอด

 

1. ทำการฆ่าเชื้อในโพรงจมูกบ่อยๆ ด้วยรมไอหอมแดง หรือ เครื่องต้มยำตามคำแนะนำ

2. กินอาหารรสร้อน กินน้ำขิง น้ำต้มยำ เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น ไม่ให้ร่างกายรัอน กระสายยาร้อนพวกกระชายได้

3. ใช้ยาเขียว ยาขมต่างๆ กับน้ำรากผักชี เพื่อระบายความร้อน ขับไวรัส ออกไป อบโอโซนเครื่องต้มยำ คาดว่า น้ำมันหอมในเครื่องแกงไปปิดการรับหรือเกาะของไวรัสที่ยริเวณลำคอ (คหสต. หมอยังไม่ได้อ่านหลักเคมีลึกๆ)

4. ใช้มหาพิกัดตรีผลาในการรักษา

5. ใช้ยาตำรับรักษาโรคห่า ไข้พิษไข้กาฬ หรือ จากตำราคัมภีร์ไข้ต่างๆ ค. ตักศิลา เช่น ยาห้าราก (#แก้วห้าดวง) ยาจันทลีลา (เย็น) ประสะจันทน์แดง ประสะฟ้าทะลายโจร ฟ้าทะลายโจร ยาขาว มหานิล ยาถ่าย หรือตำรับอื่นๆ ตามที่ แพทย์แผนไทย คัดเลือกหรือวางแผนการรักษา

6. ใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกวิธีและป้องกันตัวเองด้วยการ ล้างมือ บ่อยๆ

7. เลี่ยงจุดเสี่ยง ไม่เข้าใกล้คนไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน

การทานยาฟ้าทะลายโจรเพื่อป้องกันหรือเพิ่มภูมิร่างกาย คือ

2 เม็ด สามเวลาก่อนอาหาร เช้ากลางวันเย็น (3 AC,tid)

การทานเพื่อการรักษามักทานร่วมกับตำรับยาทางแพทย์แผนไทย คือ ยาห้าราก หรือ จันทลีลา 4×4 เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน ทุกๆ สี่ชั่วโมงหรือ สี่มื้อ (Cap, AC, Hs, qid, q4h) หรือร่วมกับ ประสะจันทน์แดง ประสะเปราะใหญ่ ที่มีรายงานการจัดการไวรัสได้ดี

กรมวิทย์เผย ผลการศึกษาในหลอดทดลองยาตำรับสมุนไพรลดไข้ ยับยั้งเชื้อโควิด-19 ได้ (กรมวิทย์เผย ผลการศึกษาในหลอดทดลองยาตำรับสมุนไพรลดไข้ ยับยั้งเชื้อโควิด-19 ได้ | Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ)

ตำรับยาทางแพทย์แผนไทยที่ใช้รักษา คือ คัมภีร์ตักกศิลา จาก ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ของรัชกาลที่ 5 ตำรับยาที่ใช้รักษาไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้เหนือต่าง เป็นต้น เช่น

ตำรับยาที่สำคัญทางแพทย์แผนไทยในการรักษาโควิดหรือโรคห่าลงปอด

1. ตำรับ ยาห้าราก หรือชื่อ ยาแก้วห้าดวง หรือ #เบญจโลกวิเชียร

2. ตำรับ #ประสะฟ้าทะลายโจร “ประสะฟ้าทะลายโจร” เป็นตำรับยาไทย ส่วนฟ้าทะลายโจร ที่เราทานเดี่ยวๆ เป็นเพียงแค่เครื่องยาหรือสมุนไพรเย็น ทานมากๆ ไม่ดีต่อคนที่หยินหยางไม่พอดี คนที่มีธาตุไฟน้อยหรือมีอาการความดันต่ำไม่แนะนำ

แพทย์เวชกรรมไทยจะใช้ตำรับยาไทยประสะฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ไข้โดยเฉพาะ เมื่อมีอาการเจ็บคอและท้องเสียอันเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งในตำรับยาไทย “ประสะฟ้าทะลายโจร” เป็นโครงสร้างของตำรับยาไทย มีการควบคุมฤทธิอันไม่พึงประสงค์ของฟ้าทะลายโจรเดี่ยวคือ รสขมเย็นไปได้ ซึ่งจะแสลงกับโรคหัวใจ ทำให้ร่างกายเย็น ภูมิคุ้มกันจะตก

3. ตำรับยาแก้ไข้จันทลีลา

3. ตำรับยาแก้ไข้ประสะจันทร์แดง ประสะเปราะใหญ่ เป็นต้น (กรมวิทย์เผย ผลการศึกษาในหลอดทดลองยาตำรับสมุนไพรลดไข้ ยับยั้งเชื้อโควิด-19 ได้ | Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ)

4. ตำรับยาครอบไข้ จากคัมภีร์ตักศิลา

5. ตำรับยาแปรผิว และ อีกมากมาย เพื่อรักษาตามอาการต่างๆ

#ตำรับยาสมุนไพรรักษาโควิด19#แพทย์แผนไทย #หมอน้อยบ้านสมุนไพร

 

 

ผลกระทบของสายพันธุ์ไวรัสใหม่ต่อวัคซีน COVID-19

ที่มาข้อมูล:

  1. https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019
  2. https://www.wsj.com/articles/pfizers-covid-19-vaccine-is-less-effective-against-delta-variant-israeli-data-show-11625572796
  3. https://www.synphaet.co.th/วัคซีนโควิด-19-มีกี่ชนิด-อ/
  4. https://news.thaipbs.or.th/content/304847
  5. https://www.singlecare.com/blog/
  6. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/symptoms-testing/symptoms.html
  7. https://www.isglobal.org/en_GB/coronavirus
  8. คัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
  9. คัมภีร์ตักศิลา
  10. คัมภีร์ไข้พิษไข้กาฬไข้เหนือ
  11. ย่อยข่าวและข้อมูลจาก อ. กิตติ กิตติจารุวงค์ ครูบาอาจารย์แพทย์แผนไทย สมาคมแพทย์แผนไทยลำพูน. (personal data text)
  12. กรมวิทย์เผย ผลการศึกษาในหลอดทดลองยาตำรับสมุนไพรลดไข้ ยับยั้งเชื้อโควิด-19 ได้ | Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ
  13. 46d94692-8bef-4d55-b503-3fc709f302e8.jpg (1273×720) (tnnthailand.com)
  14. More Than 10.1 Billion Shots Given: Covid-19 Vaccine Tracker (bloomberg.com)